We use cookies to enhance your experience. By continuing to visit this site you agree to our use of cookies.

ทำความรู้จักกับ DDoS Attack

2021-09-08 01:52:00


DDoS Attack

DDoS Attack อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคนิคการโจมตีแบบ Brute Force ระดับสูงที่อาศัย Botnet หรือเครือข่ายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์กลายเป็น Zombie และถูกควบคุมตามคำสั่งของแฮ็คเกอร์ โดยปกติแล้วจำนวน Botnet อาจมีได้ถึงหลักหมื่นหรือแสนเครื่องเลยทีเดียว ซึ่งการถล่มเว็บไซต์ถือว่าเป็นเป้าหมายหลักของการโจมตี DDoS Attack

Botnet แฝงเข้ามาในอุปกรณ์ได้อย่างไร

ส่วนใหญ่แล้ว อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น Router, Access Point ตามบ้าน หรือ Internet of Things มักมีความปลอดภัยต่ำ และไม่ค่อยมีการอัพเดทแพทช์เพื่ออุดช่องโหว่ ส่งผลให้แฮ็คเกอร์อาจโจมตีช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อแฝงมัลแวร์ลงไปในอุปกรณ์เพื่อใช้ควบคุมภายหลังได้ หรืออาจเกิดจากการที่ผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เข้าถึงเว็บไซต์อันตรายหรือเผลอกดลิงค์โฆษณาที่มีมัลแวร์แอบแฝงอยู่ เหล่านี้ก็นับว่าเป็นช่องทางสำคัญในการแพร่กระจายตัวของ Botnet

วงจรการโจมตีแบบ DDoS Attack

เพื่อให้สามารถรับมีอกับการโจมตีแบบ DDoS Attack ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจวงจรการโจมตีของมันซะกัน โดยหลักๆแล้ว การโจมตีแบบ DDoS Attack ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ

1.เป้าหมายของการโจมตี (The Victims)1.

การโจมตีแบบ DDoS Attack ขนาดใหญ่นั้นเป็นที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่เพียงเว็บไซต์ขนาดใหญ่หรือมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียวที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตี ทุกเว็บไซต์บนโลกนี้อาจตกเป็นเป้าหมายได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์บริษัท เว็บที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง เว็บธุรกิจออนไลน์ หรือแม้แต่เว็บไซต์ส่วนบุคคล

2.ผู้ให้บริการ DDoS Attack (The Arms Dealers)2.

ผู้ให้บริการ DDoS Attack เป็นผู้สร้างมัลแวร์ไปฝังไว้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ สำหรับใช้เป็น Botnet เพื่อโจมตีเป้าหมายที่ต้องการ Botnet เหล่านี้จะรับคำสั่งและถูกควบคุมผ่าน Command-and-control Server (C&C Server) หลังจากที่มีจำนวน Botnet มากเพียงพอต่อการโจมตีแล้ว ผู้ให้บริการ DDoS Attack จะทำการประกาศขายบริการโดยปลอมตัวเป็นผู้ให้บริการ Stresser/Booter (บริการทดสอบ DDoS Attack)

3.อาชญากรบนโลกไซเบอร์ (The Cyber Criminals)3.

บุคคลที่ใช้บริการ DDoS Attack สำหรับโจมตีเป้าหมายมีหลายประเภทและหลากหลายวัตถุประสงค์ ที่พบเห็นกันได้บ่อยมีดังนี้

แฮ็คเกอร์ที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง เช่น โจมตีฝ่ายการเมืองขั้วตรงข้ามกับตนเอง หรือหน่วยงานที่สนับสนุนการเมืองขั้วนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น Anonymous โจมตี ISIS หรือเว็บไซต์ของรัฐบาลไทย เป็นต้น บริษัทคู่แข่งที่ต้องการดิสเครดิตบริษัทอื่นๆ พวกที่ใช้บริการ DDoS Attack เพื่อข่มขู่หรือกรรโชกทรัพย์ พวกคึกคะนองที่ต้องการก่อกวนผู้อื่น จากสถิติของ Incapsular ผู้ให้บริการโซลูชันป้องกัน DDoS Attack ระบุว่า 70% ของผู้ตกเป็นเหยื่อของ DDoS Attack นั้นมักถูกโจมตีมากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้นแล้ว การจ่ายเงินค่าไถ่เพื่อให้หยุดโจมตีไม่ใช่ทางออกที่ควรทำ เพราะไม่มีอะไรการันตีได้ว่าจะไม่ถูกโจมตีซ้ำอีกครั้ง ที่น่าตกใจกว่านั้นคือ 35% ของการโจมตี DDoS Attack เกิดจากคนในด้วยกันเอง เช่น พนักกงาน, Contractor, Out Source หรือ Business Partner

ป้องกัน DDoS Attack ได้อย่างไร

DDoS Attack เป็นภัยคุกคามที่รับมือได้ยาก และจำเป็นต้องลงทุนสูงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการป้องกันการโจมตีขนาดใหญ่ วิธีการรับนั้นสามารถใช้ได้หลายวิธี

เพิ่ม Bandwidth และ Resource เช่น เพิ่มขนาดลิงค์อินเทอร์เน็ต เพิ่มประสิทธิภาพหรือจำนวนเซิฟเวอร์ เรียกได้ว่าเป็นวิธีตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่ข้อเสียคือ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ใช้ Proxy เช่น Load Balancer ในการกระจายภาระงานไปยังแต่ละเซิฟเวอร์ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงฟิลเตอร์เฉพาะทราฟฟิคที่ไม่ใช่ DDoS Attack อย่างไรก็ตาม Proxy เองก็ต้องมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรับมือกับการโจมตีของ DDoS Attack ได้ ใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่น Firewall หรือ IPS อุปกรณ์เหล่านี้มักมีฟีเจอร์สำหรับป้องกัน DDos Attack ได้ในระดับหนึ่ง แจ้งไปยัง ISP เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาให้ แต่บางครั้งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือ ISP อาจจะบล็อกทราฟฟิคทั้งหมดแทนก็ได้ ใช้โซลูชัน DDoS Mitigation โดยเฉพาะ เช่น Incapsula, Arbor Networks, CloudFlare, Akamai เป็นต้น เครดิต:https://www.techtalkthai.com/the-anatomy-of-ddos-attack/?fbclid=IwAR2JsPm0jI8w6Xf7bOxIlgmvdopTKbzWpiZgDyhCLsQCHDi_hVPU1ck4YHw